ถึงหน้าร้อนแล้ว ก็ต้องคิดถึงทะเล หลังจากที่เที่ยวติดดินเคยพาเพื่อนๆไปเที่ยวสตูลแบบผิวๆมาแล้วรอบนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับสตูลให้มากขึ้น เมื่อพูดถึงสตูลหลายคนจะคิดถึงเพียงเกาะ หลีแป๊ะเท่านั้น ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศจะคิดถึง ถ้าเราไม่ไปเกาะหลีแป๊ะละจะไปเที่ยวไหนกันดี เราไปเริ่มกันเลยครับ

พร้อมออกเดินทางไปสู่โลกดึกดำบรรพ์กันที่ พิพิธภัณฑ์ ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า เป็นอาคารชั้นเดียว มีขนาดพื้นที่จัดแสดง อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาราชการ เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม มีสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมประมาณ 100,000 คนต่อปี โดยภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับช้างไทย ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดสตูล และซากดึกดำบรรพ์ช้างที่พบใน ถ้ำเล สเตโกดอนและซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ ซึ่ง UNESCO ได้ประกาศให้ อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล เป็นแหล่งอุทยานธรณีโลก ซึ่งได้เป็นอุทยานธรณโลกเป็นประเทศที่ 36 ของโลก เป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียน และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย

หลังจากที่เราได้เรียนรู้ที่มาที่ไปของสตูลกันแล้วก็ได้เวลาออกไปผจญภัยกันต่อที่ ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำเลที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย เพราะมีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร ส่วนคำว่า “สเตโกดอน” คือชื่อของช้างดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิลของช้างสเตโกดอนในถ้ำแห่งนี้และพบหินรูปร่างแปลกตา จึงนำมาซึ่งการสำรวจถ้ำและค้นพบซากฟอสซิลอีกมากมายภายในถ้ำนี้ และตามผนังถ้ำเราก็ยังพอเห็นฟอสซิลของสาหร่ายทะเลอีกด้วย การเดินทางไปเที่ยวถ้ำด้านหน่าจะพบกับสะพานแขวน และทางลงสู่ปากทางเข้าถ้ำเลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเรือแคนูเป็นพาหนะพาเข้าไปชมทั้งความงามและความมหัศจรรย์ของถ้ำนี้ ภายในถ้ำเล สเตโกดอนนั้น นอกจากความสวยงามของหินต่างๆ ภายในถ้ำแล้ว ที่นี่ยังมีน่าสนใจอย่างเช่นฟอสซิลของซากพืช ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุโดยเฉลี่ยถึง 500 ล้านปีที่ยังหลงเหลืออยู่อีกด้วย เหมาะสำหรับคนรักการท่องเที่ยวแบบแอดเวนเจอร์และรักธรรมชาติอย่างยิ่ง ที่ตั้ง : หมู่ 7 หมู่บ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย

เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา แหล่งมีลักษณะเป็นผาชันติดทะเลทางด้านตะวันตก ด้านใต้ และด้านตะวันออก มีสะพานเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเลียบไปตามชายฝั่งผาชันด้านตะวันออก แล้วโค้งไปทางตะวันตกผ่านเขตรอยต่อระหว่างหินปูนสีเทากับหินทรายสีแดง แม้จะไม่มีหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ แต่จากการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินนั้นกล่าวได้ว่า หินปูนสีเทานั้นเป็นหินปูนกลุ่มหินทุ่งสูงยุคออร์โดวิเชียน ส่วนหินทรายสีแดงนั้นเป็นหินทรายกลุ่มหินตะรุเตายุคแคมเบรียน โดยระนาบสัมผัสระหว่างกลุ่มหินทั้งสองนั้นเป็นระนาบรอยเลื่อนที่มีการวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันออก และจากการที่ชั้นหินทรายสีแดงมีการวางตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมเอียงเท 22 องศาแล้วค่อยๆเพิ่มการเอียงเทมากขึ้น ๆ จนอยู่ในแนวตั้งฉากที่บริเวณด้านใต้ของระนาบรอยเลื่อนนั้น ทำให้กล่าวได้ว่าเป็นรอยเลื่อนปกติ และหากนักท่องเที่ยวเดินบนสะพานจากด้านหินปูนสีเทาข้ามระนาบรอยเลื่อนไปยังด้านหินทรายสีแดง ถือได้ว่ากำลังมีอายุมากขึ้นจากยุคออร์โดวิเชียนไปเป็นยุคแคมเบรียนโดยผ่านระนาบรอยเลื่อนที่ถือว่าเป็น “เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย”

หมดลงไปสำหรับวันแรกเราเลือกที่นอกกันที่ See Sea Resort ที่พักเล็กๆริมปากน้ำปากบารา โรงแรมนี้ตั้งอยู่ริมหาดใน ละงู สามารถเดินไป ท่าเรือปากบารา และ หาดปากบารา ได้ใน 10 นาที ส่วนวัดปากบารา อยู่ห่างจากโรงแรมไป 0.8 กม. โรงแรมนี้มีห้องอาหาร พร้อมด้วยบริการซักแห้ง และฝ่ายต้อนรับ 24 ชั่วโมง ทางที่พักยังให้บริการ บริการ WiFi ฟรีในพื้นที่สาธารณะ และที่จอดรถฟรี สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ บริการจองทัวร์/ตั๋ว ได้ที่เบอร์ 095 669 6959

สำหรับมื้อค่ำนั้นมาถึงสตูลก็จะพาไปกินอหารทะเลกันที่ร้าน ฟ้าใส ซีฟู้ด ตั้งอยู่ 1166 หมู่ 2 ถนน สายละงู-ปากบารา สตูล (ร้านนี้ตั้งอยู่ทางเข้าท่าเรือปากบารา บรรยากาศริมชายหาด)

เริ่มต้นวันที่2 กันที่ชุมชน บ่อเจ็ดลูก เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับทะเลอันดามัน มีประวัติกล่าวขานว่าในอดีตอันยาวนานยังมีชาวเลตีนแดงเผ่ามอแกนซึ่งอาศัยไม่ค่อยเป็นหลักแหล่งได้เดินทางมา ณ ที่เกาะหนึ่งซึ่งเป็นเกาะเล็กๆอยู่ทางตอนใต้ของทะเลอันดามัน และได้เดินหาน้ำดื่ม จึงเกิดเป็นตำนานเจ็ดบ่อขึ้นมา แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่านั้นบอกว่ามีสามตำนานด้วยกันที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเรื่องไหนคือเรื่องที่ถูกต้องที่สุดและเรื่องใดไม่เป็นความจริง
ชาวเลเมื่อเดินหาน้ำดื่มจนมาพบบ่อน้ำผุดมาจากใต้ดินจำนวน 7 บ่อด้วยกัน บ่อแรกใหญ่หน่อยเรียกกันว่าบ่อพ่อ ที่เหลือก็เป็นบ่อแม่และบ่อลูก ขนาดลดหลั่นกันไป เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของเรื่องกล่าวอะไรไว้ก็ได้ดังใจ มีการร้องรำทำเพลงบ้าง นำไก่ขาวมาเชือดบ้างเพื่อแก้บนอีกนัยหนึ่งก็ว่าเมื่อชาวเลต้องการน้ำก็ได้ทำการขุดบ่อน้ำขึ้นมา 1 บ่อ ใช้มาตลอดจนกระทั่งมีลูกมาปรึกษาหารือจนมีข้อสรุปว่าแต่ละคนขุดบ่อมาคนละบ่อ ขุดใกล้ๆกับพ่อนี่แหละ จาก 1 บ่อ ก็เป็น 7 บ่อ
ยังมีอีกตำนานที่บอกว่าชาวเลเมื่อได้ร้อนแรมมาพักที่เกาะแห่งนี้ก็ได้ตั้งรกรากที่นี่ และขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ บ่อแรกก็ขุดพบว่าน้ำเค็มใช้ไม่ก็ขุดต่ออีกก็เค็มอีก จนขุดถึงบ่อที่ 7 ปรากฏว่าน้ำจืด จึงได้ใช้กันเรื่อยมา

สันหลังมังกร หรือทะเลแหวกสันหลังมังกร คือคำเรียกขานเกาะแห่งหนึ่งของชาวชุมชนตันหยงโป จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์กลางทะเลอันดามัน ในยามน้ำทะเลลดลงจะดูเหมือนกระแสน้ำหลีกทางให้สันทรายโผล่ขึ้นมาซึ่งเป็นสันทรายที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยนับหลายล้านตัวทับถมกัน ทำให้เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวยาวกว่า 3 กิโลเมตรสามารถเชื่อมไปยังอีกเกาะหนึ่งได้ หรือเปรียบเสมือนกับมังกรฟ้าถลาลงเล่นน้ำทำให้นักท่องเที่ยวได้เดินบนสันหลังมังกรที่เคลื่อนไหวพลิ้วอย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อหาดแห่งนี้ ทะเลแหวกสันหลังมังกร เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมทัวร์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเพราะเดินทางสะดวก โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเรือท่าเรือบ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโปได้เลย และจะมีชาวบ้านชุมชนบากันเคยนำเรือหางยาวมาคอยให้บริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางเพียง 20 นาที ที่ตั้ง : หมู่1 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

เกาะเขาใหญ่ หรือ ปราสาทหินพันยอด เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสตูลที่เพิงสำรวจ และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ท่านจะได้พบความงามของถ้ำ ที่อายุเก่าแก่กว่าล้านปีแต่ต้องดูเวลาที่น้ำลดก็จะสามารถลอดช่องหินเข้าไปชมความสวยงามของ “ปราสาทหินพันยอด”โดยต้องพายเรือคายักเข้าไป สิ่งอัศจรรย์สุดอันซีนที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้นจากการกัดเซาะหินของน้ำฝน จนกลายเป็นแท่งหินแหลมรูปร่างสวยงามแปลกตาคล้ายกับบนปราสาทในเทพนิยาย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าปราสาทหินพันยอด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ธรณีวิทยา มีการพบฟอสซิลอายุมากกว่า 480 ล้านปี

หลังจากนั้นขึ้นจากทะเลมาทำกิจกรรมงามฝีมือกันบ้างครับ ที่ กลุ่มปันหยาบาติก “บาติก ศิลปะที่นำเสนอเรื่องราวของอุทยานธรณีสตูล” ลวดลายที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวทางธรณีวิทยา ลวดลายผ้าบาติกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติกมีความพิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากมีการพัฒนาและออกแบบวาดลวดลายที่สอดคล้องกับเรื่องราวทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีสตูลโดยประยุกต์ ประยุกต์เอาภาพจำลองสภาพแวดล้อมทะเลโบราณในยุคออร์โดวิเชียนหรือเมื่อประมาณ 444 ล้านปีก่อน มาทำเป็นลายผ้าโดยมี ปลาหมึกโบราณหรือนอติลอยด์ และไทรโลไบท์ เป็นตัวเอก

การใช้วัสดุจากอุทยานธรณี

การใช้วัสดุธรรมชาติ พวกแร่ธาตุ ใบไม้ เปลือกไม้ ผลไม้ ที่เกิดในพื้นที่อุทยาน มาทำเป็นวัสดุย้อมสี เช่น สีแดงที่ได้จากดินที่ผุผังจากพื้นที่หินปูนที่ได้สีแดงจากธาตุเหล็ก สีเหลืองจากโคลน สีน้ำตาลจากเปลือกโกงกาง เป็นต้น ถือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานธรณี

บทบาทของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มได้รวบรวมแม่บ้านในพื้นที่ละงูมาเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำผ้าบาติก การเขียนลาย และเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในพื้นที่อำเภอละงูอีกด้วย

โอกาสนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังพื้นที่ จ.สตูล นอกจากจะได้สัมผัสธรรมชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นท้องทะเลที่สวยงาม เดินป่า ชมเขาชมถ้ำ เรียนรู้แหล่งฟอสซิล ย้อนไปสู่อดีตกับของใช้สะสมตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว การหาซื้อผ้ามัดย้อมลายฟอสซิล ยังเป็นของฝากถึงคนที่คุณรัก ของฝากที่สื่อสัญลักษณ์ของ จ.สตูล ก็จะยิ่งประทับใจทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสตูล และคนที่คุณรัก ซึ่งได้รับของฝากที่น่าประทับใจจากคุณ

หลังจากได้ของฝากเป็นงานฝีมือกลับไปเป็นที่ระลึกแล้วก็ได้เวลามื้อเย็นกันที่สตูลที่ร้าน ร้านพริกไท Prikthai อีกหนึ่งร้านอาหารฮาลาลแนะนำของจังหวัดสตูล ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ตั้งอยู่ริมถนนสตูลธานี (ติดกับโรงแรมพินนาเคิล) สตูลนั้นเป็นจังหวัดเล็ก ๆ น่ารัก เต็มเปี่ยมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 80 เกาะ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย เมื่อได้มาเยือนรับรองได้ว่าจะหลงเสน่ห์ของผู้คนที่นี่ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งเป็นเมืองแห่งยุทธจักความอร่อย บรรยากาศการตกแต่งร้านของ ร้านพริกไทย Prikthai นั้นเรียบง่าย สบาย ๆ ใน 2โซนทั้งแบบโอเพ่นแอร์บริเวณด้านนอกของร้าน โดยโซนนี้ใช้เป็นส่วนของร้านเบเกอรี่ และบาร์น้ำ และอีกโซนคือโซนห้องปรับอากาศ แอร์เย็นฉ่ำ ทำให้ได้อรรถรสของการทานอาหารดียิ่งขึ้น เฟอร์นิเจอร์ไม้นั่งสบาย คลุมโทนสีน้ำตาลแลดูอบอุ่นอาหารนั้นก็มีมากมายหลากหลายรายการทั้งอาหารทานเล่น อาหารตะวันตก อาหารไทย และเบเกอรี่

ก่อนเข้าที่พักแวะทานโรีตีชาชัก ของหวานก่อนนอกสักหน่อย ที่ร้าน โรตี บังฟานชาซัก กับอาหารคู่ใจคนสตูลสุดฮิต คัดสรรเมนูโรตีสุดแปลกกว่า 30 รายการ “โรตีกั้ง” ปรุงสดจากทะเลเสริฟเข้ากับช่วงฤดูกาล

สตูลเป็นจังหวัดที่มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธสะท้อนผ่านอาหารยอดฮิตของคนสตูล คือ “ชาชักกับโรตี” ที่มาแล้วพลาดไม่ได้ ที่สำคัญหาทานได้ง่าย ร้านโรตีบังฟาน ชาชักของดีเมืองสตูล” ซึ่งอยู่ใจกลางของเมือง พร้อมกับบรรยากาศสุดคลาสสิก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 ถนนเรืองฤทธิ์จรูญ ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล โทรศัพท์ 091 830 2698

กินอิ่มท้องแล้วเข้าที่พักย่านใจกลางเมืองอย่างโรงแรมสินเกียรติบุรี ด้วยทำเลที่ตั้งใจกลางเมืองสตูล ทำให้ท่านสามารถเดินทางท่องเที่ยวในตัวเมืองด้วยความสะดวกสบาย โรงแรมของเราอยู่ห่างจากท่าเรือตำมะลังเพียง 20 นาที ยินดีบริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแก่ท่าน พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับมาตรฐาน มีให้ท่านเลือกห้องพักในทุกระดับราคาที่ท่านพอใจ

50 ถ.บุรีวานิช ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล 91000

อีเมล์ [email protected]

โทรศัพท์ 074-711-336 มือถือ 091-847-1057

ตื่นเช้าขึ้นมาใกล้ๆโรงแรมสามารถเดินไปสัมผัสวิถีของชาวสตูลกันได้ที่ตลาดยามเช้าที่ตลาดเทศบาลและเดินชมความสวยงามของตึกแบบย้อนยุคในเมืองเก่าของสตูลพร้อมชิมอาหารเช้าแบบคนท้องถิ่นได้

สำหรับในตัวเมืองสตูลนั้นสิ่งที่มาแล้วไม่ควรพลาดนั้น อย่าลืมไปเช็คอินกันที่ คฤหาสน์กูเด็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล จัดแสดงในคฤหาสน์กูเด็น ที่สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกู บาฮุดดิน บินกูแมะ เจ้าเมืองสตูล ในสมัย ร.5 ระหว่างพ.ศ.2441 – 2459 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโดโรเนียล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้มาพักแรม ต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพัก จนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปีพ.ศ.2484 ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น หลังจากนั้นพ.ศ.2490 – 2509 ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล ปลายปีพ.ศ.2509 ใช้เป็นโรงเรียนและเป็นสำนักงาน กอ.รมน. กรมศิลปากร ได้บูรณะปรับปรุงอาคารคฤหาสน์กูเด็น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 แล้วเสร็จปีพ.ศ.2542 และดำเนินการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล มาจนถึงปัจจุบัน

มัสยิดมำบัง หรือ มัสยิดกลางสตูล ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิช และถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอก เป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนใน เป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน

ศาลเจ้าเก่าแก่อายุกว่า 125 ปี..ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เป็นภาษาฮกเกี้ยน ซึ่ง โป้ แปลว่า คุ้มครองรักษา เจ้ แปลว่า ข้ามพ้นทุกข์ และเก้งแปลว่า ศาลเจ้า ดังนั้น โดยรวมแปลว่า ” ศาลเจ้าที่ช่วยคุ้มครองให้คนมีสุข คลาดแคล้วจากทุกข์ ” นอกจากจะแก้ปีชงแล้ว ศาลเจ้ายังเป็นที่พึ่งของคนป่วย ไม่สบายด้วยโรคต่าง ๆมาสักการะ แล้วจะหายจากโรคภัยได้ทุกรายเชื่อกันว่า องค์พระโปเซ้งไต่เต่ เป็นพระที่อุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือมนุษย์มีอิทธิฤทธิ์ช่วยให้คนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเมื่อคนเรามีสุขภาพดี ก็จะประสบความสำเร็จในการทำมาหากินถนนสมันตประดิษฐ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล


วัดชนาธิปเฉลิม ตั้งอยู่ที่ถนนศุลกานุกูล ตำบลพิมาน เดิมชื่อ วัดมำบัง เป็นวัดแห่งแรกของเมืองสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนาธิปเฉลิมเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ ชาวเมืองสตูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นที่รวมน้ำใจของชาวพุทธศาสนามาร่วม ๑๐๐ กว่าปี พระอุโบสถของวัดสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๗๓ มีลักษณะเด่นแตกต่างจากพระอุโบสถทั่วไป คือ เป็นอาคารทรง ๒ ชั้น ชั้นล่างก่อด้วยอิฐถือปูน ใช้เป็นศาลาการเปรียญ ชั้นบนเป็นอาคารไม้ ใช้ประกอบพิธีกรรมของพระสงฆ์ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นระเบียงมีบันไดสองข้าง เสาบานหน้าต่างแกะสลักเป็นรูปเครือเถา วัดแห่งนี้จึงเป็นวัดที่หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสตูล ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสตูล โรงเรียนสตูลวิทยา ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอบถาม รายละเอียดหมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๗๔๗๑ ๑๙๙๖

รีสอร์มชุมชนบ้านบากันเคยหมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโปอำเภอเมือง จังหวัดสตูล สัมผัสบ้านพักเรียบง่ายริมทะเลแบบวิถีชีวิตดั้งเดิมนอกจากนี้ที่นี่ยังมีธนาคารกั้งแห่งแรกและแห่งเดียวของโลกก็ว่าได้จุดเริ่มต้นจากการรวมตัวของชาวบ้านเพื่อระดมความคิดในการจัดการทรัพยากรหน้าบ้าน นั่นก็คือทะเลซึ่งเปรียบเสมือนหม้อข้าวหม้อแกงที่ชุบเลี้ยงชีวิตของชาวชุมชนบ้านบากันเคย ในรูปแบบธนาคารสัตว์น้ำ ตลอดจนประสานความร่วมมือ องค์กร ภาคีต่างๆ ภาครัฐเอกชน องค์กรศึกษา องค์กรชุมชนร่วมจัดสรรจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ


ทะเลแหวก จากตัวเมือง จ.สตูล ผ่าน หมู่บ้านชุมชนตันหยงโป สู่ท่าเทียบเรือบากันเคย เพื่อนั่งเรือหางยาวตั้งอยู่ ณ อ่าวสตูล หมู่บ้านตันหยงโป ใช้เวลา ประมาณ 15 นาที เกาะ หัวมัน ทะเลแหวก โดยเวลาที่น้ำลงนั้น จะเห็นทะเลแหวกถอดยาวไกลข้ามจากอีกเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่ง มีระยะทางถึง 5 กิโลเมตรเลย และพื้นที่แหวกออกมานั้น เป็นชายหาดซากเปลือกหอยที่กองกันถอดยาวไกลตลอดทางเดิน 5 กิโลเมตรล่องเรือสู่เกาะกวาง ประมาณ 10 นาที สัมผัสหาดเปลือกหอยล้านปีเป็นหาดที่เรียกได้ว่าเป็นหาดเปลือกหอยที่มีอายุนานล้านปีก่อนรวมตัวกันเป็นหาดสวรรค์ ชมทัศนียภาพบนจุดชมวิวที่สวยที่สุดกลางเกาะและเดินลัดเลาะ เดินตามชายหาดซึ่งอยู่กลางทะเลเพราะที่นั่นเปรียบเสมือนทะเลแหวกที่มีหนึ่งเดียวในสตูลที่มีความยาวกว่า 5 กิโลเมตรซึ่งถูกขนานนามว่า ทางเดินจ้าวสมุทร ดุจดั่งกำลังเดินทางบนเส้นทางหลังมังกรกลางทะเล ทั้งนี้ ที่จุดนี้ยังสามารถ เล่นน้ำดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น ได้อีกด้วย

ก่อนจะกลับก็จะพาไปแวะชิลกันที่ร้าน .ร้านบุหงารัมปัย ตั้งอยู่ใจกลางเทศบาลเมืองสตูล ริมถนนสฤษดิ์ภูมินารถ ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ห่างจากป่าไม้สตูล 500 เมตร ที่ร้านแห่งนี้ได้ใช้มุมหนึ่งของบ้านบรรพบุรุษที่อาศัยอยู่มามากกว่า 70 ปี ปรุงแต่งให้ลูกค้าเข้ามาเสมือนมาเยี่ยมบ้านปู่ย่า ตายาย มีกลิ่นไอของความเป็นมลายูตกแต่งได้อย่างลงตัวผสมผสานร่วมกับธรรมชาติที่เขียวขจี คงความเป็นสตูลในอดีตให้สัมผัสและดื่มด่ำวัฒนธรรมไทยมุสลิม บุหงารัมปัย ความหมายคือ ดอกไม้นานาชนิดที่นำมารวมกันทั้งดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง ตั้งแต่เกิดจนถึงหลุมฝังศพ ไทยมุสลิมจะใช้ดอกไม้นานาชนิดเหล่านี้ใช้ในโอกาสสำคัญ ๆ ทั้งสุข รื่นเริง และเศร้า จึงเป็นที่มาว่าร้านต้องการให้เป็นแหล่งพบปะพูดคุย นัดพบทั้งเรื่องสุข เศร้าและพบปะสังสรรค์ของกลุ่มคนที่อบอุ่น และอบอวนไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ที่จะทำให้ชีวิตที่เร่งรีบช้าลงได้บ้าง บรรยากาศการตกแต่งร้านจึงเป็นสไตล์มลายูในอดีต นำมาประยุกต์ให้ร่วมสมัย ผสมกลิ่นไอของธรรมชาติพืชพรรณไม้นานาชนิด จึงต้องการให้ที่นี่เป็นปอดของคนเมืองไปพร้อมรับประทานอาหารที่หาทานได้ยากที่จะมีเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือโอกาสสำคัญ มาทานได้ที่นี่ เริ่มตั้งแต่เครื่องดื่ม ได้นำเมล็ดกาแฟพื้นเมืองโรบัสต้าจาก อ.ควนโดน ของ จ.สตูล นำมาคั่วทำกาแฟสดยกเหยือก ในราคาชุดเล็กทาน 2 คน 49 บาท ชุดใหญ่ทาน 3-4 คน 79 บาท ทานพร้อมขนมพื้นเมืองอย่างขนมจัง ชุดละ 39 บาท ซึ่งในแต่ละวันขนมก็จะหมุนเวียนไปตามวัน