จากแนวนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องการสร้างโมเดลเรื่องการทำให้คนอยู่กับป่าอย่างมีความสุข อีกทั้งอาศัยความสมบูรณ์ของธรรมชาติและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่เป็นทุนเดิมนำมาช่วยแก้ปัญหาความยากจน โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใน 5 ปี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักด้านการท่องเที่ยวจึงได้วางกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่สามารถเดินท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงฤดูหนาวซึ่งมีระยะเวลาสั้นเพียง 3 – 4 เดือนเท่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “แม่ฮ่องสอน” มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีความน่าสนใจมากมาย ชูจุดเด่นด้วยคอนเซปต์”แม่ฮ่องสอนผ่อนคลาย” หรือ “Relaxing Maehongson” พร้อมทั้งขยายภาพจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้กว้างและลึกซึ้งมากขึ้น กับ 5 อา ได้แก่ อากาศ อาหาร อาราม อารมณ์ดี และอายุวัฒนะ
ออบหลวง ตามประวัติดั้งเดิมเล่าว่า ลำน้ำแม่แจ่มสมัยก่อนเรียกว่า”แม่น้ำสลักหิน” เพราะแม่น้ำนี้ได้เจาะภูเขาหินลูกหนึ่งจนทะลุไหลผ่านเป็นลำน้ำ ตรงที่เรียกว่า”แอบหลวง” ต่อมาเปลี่ยนเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นชื่อเรียกกันในปัจจุบัน คำว่า”แอบ”เป็นภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ แปลว่า ช่องแคบ คำว่า “หลวง”แปลว่า ใหญ่ ดังนั้น”ออบหลวง”ในภาษาท้องถิ่น จึงแปลว่าช่องแคบขนาดใหญ่ เนื้องจากภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันถูกแม่น้ำแม่แจ่มเจาะผ่านทะลุไป ในปี พ.ศ.2508 กรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณริมถนนในท้องที่ ต.หางดง อ.ฮอด และ ต.ป้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่ร่มรื่น สภาพภูมิประเทศสวยงามแปลกตามีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ประกอบด้วยโขดผาและลำน้ำที่ไหลแรงผ่านโตรกเขาที่ชาวเหนือเรียกว่า”ออบหลวง” เป็นที่ซึ่งประชาชนชอบไปพักผ่อนชมธรรมชาติกาความร่มรื่นอยู่เป็นประจำ จึงได้จัดให้เป็นที่พักผ่อนย่อนใจจองประชาชนในรูปแบบวนอุทยาน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2508 โดยให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ วนอุทยานออบหลวงในอดีตเป็นสถานที่พักแรมของ บริษัท บอร์เนียว ที่มีกิจการทำไม้ ซึ่งในสมัยนั้นการทำไม้สักจะใช้วิธีลำเลียงล่องมาตามลำน้ำแม่แจ่ม ไม้จะวนมาอยู่ที่ออบหลวงซึ่งเป็นวังน้ำวนและลึกมาก บริษัทไม้จึงตั้งปางพักตรงจุดนี้เพื่อคอยเก็บไม้ที่ไหลมาไม่ให้ไหลลงไปวังน้ำวน ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนให้ไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกองอุทยานแห่งชาติ และในต้นปี พ.ศ.2531 ได้มีการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ข้างเคียงโดยรอบอุทยานเพื่อยกฐานะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผลการสำรวจปรากฎว่ามีสภาพป่าสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการ มีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง เช่นน้ำตก บ่อน้ำร้อน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำแม่แจ่มและแม่น้ำปิงตอนล่าง เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานได้
ภายในอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติดินแดนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ (สถานีสื่อความหมาย/แหล่งโบราณคดี) มีระยะทาง 1,200เมตร ได้แก่ หลุมฝังศพ (อายุประมาณ 3,000 – 3,500 ปี) หินแกรนิต ภาพเขียนโบราณ(มีอายุประมาณ 20,00 ปี) จุดชมวิวดอยผาช้าง ดินโป่ง ตาน้ำ ความหลากหลายของพรรณไม้ ป่าเต็งรัง จุดชมวิวดอยผาเต่า จุดชมวิวออบหลวง บ่อพักซุง(ร่องลอย 100 ปี ก่อนการทำสัมปทานป่าไม้ในเมือง รอยอดีต (เส้นทางมีลักษณะลาดชัน และที่ราบสลับกันไปในความสูง 400 – 500 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเต็งรังพบพรรณไม้ป่าเบญจพรรณปะปนเล็กน้อย
สถานีทดลองปลูกพันธุ์ไม้บ่อแก้ว หรือ สวนสนบ่อแก้ว ตั้งอยู่ในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ หากผ่านไปยังถนนสายฮอด-แม่สะเรียง เชื่อว่าน้อยคนที่จะไม่รู้จัก เป็นจุดแวะหลักที่ต้องก้าวจากรถเพื่อแวะพักจากอาการมึนโค้ง ผ่อนคลายถ่ายภาพตัวเองกับป่าสนที่เรียงราย เป็นทิวแถวทอดยาวสุด สวนสนบ่อแก้ว เ ป็นพื้นที่ทดลองปลูกสนภูเขาชนิดต่าง ๆ ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ นำพันธุ์มาจากต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และไต้หวัน เพื่อทดลองหาพันธุ์ที่เหมาะสมมาเป็นไม้เบิกนำ เพื่อปลูกบนป่าเสื่อมโทรมบนดอยทางภาคเหนือ ต้นสนที่นำมาปลูกมีอายุกว่า 40 ปี เพราะปลูกในช่วงปี พ.ศ.2509-2510 มีจำนวนหลายพันต้น เรียงรายเป็นระเบียบบนลานโล่งเตียน ด้านหน้า ทั้งนี้ สวนสน ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวัตถุดิบเพื่อทำเยื่อกระดาษและเป็นแปลงทดลองปลูกพืชจำนวนสนสามใบ และยูคาลิปตัส ในเนื้อที่ทั้งหมด 2,072 ไร่ มีสภาพอากาศชื้นและเย็นตลอดปี เมื่อเดินทางผ่านมายังเส้นทางนี้ จะสังเกตเห็นต้นสนเป็น จำนวนมาก แต่ที่โดดเด่นและเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวก็คงจะเป็นแนวสนหน้าถนนทางเข้าฝั่งซ้ายมือ ที่มีการปลูกเรียงไว้เป็นแนว อย่างสวยงามทั้งสองข้างทาง มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจแวะมาถ่ายภาพสวยๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมากความสวยงามของที่นี่ ได้รับฉายาว่า กาะนามิเมืองไทย ไม่ต้องไปไกลถึงเกาหลี ภายในสวนมีถนนทอดผ่านนำเข้าสู่ดงสนสูงใหญ่ มีแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้า และเย็น เกิดเป็นภาพสุดโรแมนติกที่หลายคนอดใจไม่ไหว ต้องแวะมาชื่นชมสักครั้งในชีวิต ช่วงที่น่าไปเที่ยวมากที่สุดคือฤดูหนาว เพราะในยามเช้าเราสามารถมองเห็นม่านหมอกปกคลุมอยู่บริเวณครึ่งบนของลานสน บวกกับแสงอาทิตย์บางๆ คล้อยลงมาส่วนช่วง กรีนซีซั่นได้บรรยากาศเขียวขจีและม่านหมอกฝน
พิกัด: ตั้งอยู่บนถนน 108 ฮอด แม่สะเรียง บริเวณกิโลเมตร ที่ 36 ห่างจากอุทยานแห่งชาติออบหลวงประมาณ 22 กม.
วัดพระธาตุจอมทอง เป็นพระธาตุคู่บ้าน คู่เมืองแมะสะเรียง ตั้งอยู่เส้นทางเดียวกับวัดจอมแจ้ง วัดจอมทอง ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธมณี มิ่งมงคล” ก่ออิฐถือปูน สูง 15 เมตร หน้าตักกว้าง 19 เมตร ประดิษฐานอยู่บนยอดเขา สร้างขึ้นเมื่อ 12 มีนาคม 2532 เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สร้างถูกต้องตามพุทธลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้า บนลานพระพุทธรูปนี้ สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอแม่สะเรียงและทุ่งนา โดยเฉพาะในเวลาเย็นตรงวัดจอมทองถือว่า เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก
มาถึงแม่ฮ่องสอนกันแล้วก็ไม่ควรที่จะพลาดที่จะมาใส่บาตรกันที่ สะพานซูตองเป้ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร มีความกว้าง 2 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร เป็นสะพานไม้ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอีกแห่งหนึ่ง ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่แปลว่า อธิษฐานสำเร็จ หรือบางคนก็บอกว่าแปลว่า ความสำเร็จ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า หากได้มายืนอยู่กลางสะพานแล้วอธิษฐานขอความ ความสำเร็จใดๆ ก็จะพบกับความสมหวัง นับว่าเป็นสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานที่เกิดจาก ความศรัทธาและการร่วมแรงร่วมใจของพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านกุงไม้สักที่ต่างก็ช่วยกันลงแรงสานพื้นสะพานด้วยไม้ไผ่ทอดยาว ไปบนที่นาของเจ้าของที่อุทิศผืนนาถวาย โดยสร้างเพื่อเชื่อมต่อระหว่างสวนธรรมภูสมะและหมู่บ้านกุงไม้สัก ข้ามผ่านทุ่งนา และแม่น้ำสายเล็กๆ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่อีกฝั่งได้ใช้สัญจรไป มาระหว่างหมู่บ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น
วัดพระธาตุดอยกองมู เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาช้านาน ตั้งอยู่บนดอยกองมู ทางทิศตะวันตกของ ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 3 ก.ม.เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณ อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางลาดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดพระธาตุดอยกองมูเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอยประกอบ ด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของ พระโมคคัลลานะ เถระ ซึ่งนำมา จากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน คนแรก จากวัดพระธาตุ ดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจน และสวยงามมากวัดนี้มี งานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์
– แหล่งโคลนจากทะเลสาบ DEAD SEA ในประเทศอิสราเอลและจอร์แดน เป็นโคลนจากทะเลน้ำเค็ม เกิด จากการละลายตัวของหิมะบนเทือกเขาสูงในประเทศซีเรีย และจอร์แดนได้พาเอาดินโคลนบริสุทธิ์จาก เทือกเขา ไหล ลงมารวมกันที่ทะเลเดดซีสะสมมานานนับพันๆปี แห่งที่สองอยู่ในประเทศโรมาเนียเป็นแหล่งโคลนจากลาวา ภูเขาไฟหรือโคลนจากภูเขาไฟ
– แห่งที่สองอยู่ในประเทศโรมาเนียเป็นแหล่งโคลนจากลาวาภูเขาไฟหรือโคลนจากภูเขาไฟ
– แหล่งโคลนบ่อน้ำพุร้อนที่โป่งเดือดแม่สะงา หรือ ภูโคลน จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย
– แคลเซียม (CALSIUM) ช่วยปรับสภาพความสมดุลของผิวไม่ให้เกิดความแห้งกร้าน
– โบรไมน์ (BROMINE) สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ระคายเคืองผิว
– คลอไรน์ (CHLORIDE) สามารถทำความสะอาดผิวได้ลึกถึงรูขุมขน
– โปรแตสเซียม (POTASSIUM) ช่วยบำรุงและควบคุมความชุ่มชื้นของเซลล์ผิว
– แมกนีเซียม (MAGNESIUM) สร้างและซ่อมแซมเซลส์ผิวที่เสื่อมสภาพไป
– โซเดียม (SODIUM) สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้ำปลา หรือ อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ เป็นหนึ่งในสถานที่เที่ยวยอดนิยมของแม่ฮ่องสอน บริเวณโดยรอบเป็นลําธารและป่าเขาที่ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ถ้ำปลามีลักษณะเป็นโพรงปากถ้ำและมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา น้ำค่อนข้างใสสะอาด เป็นที่อยู่อาศัยของปลาพลวง ภาษาเหนือเรียกว่าปลาพุง หรือ ปลามุง ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามน้ำตกและธารน้ำในป่า เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน และ ปลาคาร์ฟ
ปลาชนิดนี้ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะอาหารของปลาชนิดนี้คือผลไม้ไม้ในป่าที่หล่นลงมาในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีพิษเมื่อปลากินเข้าไปจึงทำให้เนื้อของปลามีพิษไปด้วย และมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนําไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป
…ชาวบ้านทั้งหมดเป็นเผ่ามูเซอดำ นับถือศาสนาพุทธผี ส่วนใหญ่นับถือผี ในหมู่บ้านมีผู้นำทางศาสนาพิธี อาชีพหลักปลูกข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์(เพื่อทำพิธีมากกว่า:หมูดำ) บ้านเรือนทั้งหมด63หลังคา ประชากร 240คน ทำท่องเที่ยวมา15ปี(เริ่มพ.ศ.2546) แรกๆมีทัวร์มาแนะนำ ทัวร์นำร่อง กิจกรรม เย็บผ้า จักรยาน ทำแคน เต้นจะคึ(เต้นลาหู่) ตอนหลังตัดเต้นออกไป มีHomeStay 22หลังคืนละ200บาทต่อคนอาหารมื้อละ100ต่อคน
…กิจกรรมต่างๆ : เดินป่าขึ้นภูผาหมอก เดินป่า ชมไร่หมุนเวียน(ไร่ข้าวโพด) คอกหมูรวม(ทุกคนเลี้ยงปล่อยเอาไปรวมกันแต่เจ้าของให้อาหารของใครของมัน) เดินผ่านไร่สมุนไพร ถ้ำผีแมน(โรงไม้2500กว่าปี) หัวละ50บาทต่อจุด(รวมไกด์)
…เทศกาลปีใหม่ตำข้าวปุก กินข้าวใหม่(เอาข้าวเก่าและข้าวเก่าหุบให้สุขรวมกัน)
…เย็บผ้า เย็บมือ เย็บถอยหลัง(3เดือนเสร็จ1ตัว) สีแดง หมายถึง เลือดหมูใช้ประกอบพิธีกรรม /สีเหลือง แทนน้ำชาเทียนขี้ผึ้ง / สีเขียว ฟ้า น้ำเงินแทนพืชผัก / สีขาวแทนข้าวปุก(เหมือนเทวดา)บูชาเทพเจ้า /สีดำ แทนหมูดำ(มูเซอดำ)
…จักรสาน(ผู้ชายทำ) ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ตะกร้า ตะแหลว(กันผี)
…แคน(ผู้ชายเป่า) ทำจากไม้ไผ่ น้ำเต้า ขี้มิ้ม (กิจกรรม3อย่างคิดคนละ50บาทต่อกิจกรรม)
…อาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล
*ผู้ให้ข้อมูล: นางนะกอ ไพรเพชราทิพย์ มือถือ 09 98946654
มาถึง ปาย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของแม่ฮ่องสอน ด้วยความที่ภูเขาล้อมรอบมากมายทำให้เมืองปายเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยมาเที่ยวกันเยอะทุกปี สำหรับที่พักในปายมีให้เลือกมากมายหลากหลายราคา อาหารก็มีหลากหลายตามรูปแบบของนักท่องเที่ยวแต่ก็ยังไม่ได้เจริญมีห้างใหญ่โตอะไรยังคงความสวยงามไว้อยู่ ปายมีสถานที่สำคัญๆหลากหลาย ให้เลือกเที่ยว แต่หน้าที่นักท่องเที่ยวเยอะที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นหน้าหนาว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเยอะมาก คนไทยก็มีบ้าง ด้วยความที่เมือง ปาย ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนพอสมควรและมีโค้งมากมายเลยทำให้การเดินทางไม่ง่ายเท่าไหร่ ที่จะมา แต่สำหรับคนที่เคยมาปายแล้วก็จะอยากกลับมาอีกแน่นอน ในตัวเมืองปายนั้นช่วงกลางคืนที่นี้ก้จะมีถนนคนเดินที่มีของขายมากมายทั้งเสื้อผ้าของกิน ของที่ระลึก มีร้านนั้งชิลมากมาย ให้เลือก
วัดน้ำฮู เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านเอากระบือมาเลี้ยงและเก็บพระพุทธรูปมาวางไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ ต่อมาเพื่อ พ.ศ. 2474 ครูบาศรีวิชัยเดินทางมาธุดงด์แล้วเห็นสภาพความทรุดโทรมของวัด จึงบูรณาวิหาร ภายในวัดมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระสิงห์รุ่นที่3) ทองสำริดสร้างสมัยเชียงแสน หน้าตักกว้าง 80 เซ็น สูง 111 เซ็นติเมตร เชื่อกันว่าพระอุ่นเมืองสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างให้พระสุพรรณกัลยา พร้อมกับสร้างเจดีย์ 1 องค์ไว้ด้านหลังวิหาร เมื่อก่อนเณรไปทำความสะอาดพระพุทธรูปแล้วเห็นว่าเศียรพระมีโพรง พระโมฬีถอดได้ โดยตรงพระเศรียรจะเป็นหลุมลึกประมาณ 4 นิ้ว ภายในพบน้ำออกจากเศรียรพระจึงไปบอกชาวบ้านแต่ชาวบ้านไม่เชื่อ เมื่อ พ.ศ. 2515 นายอำเภอมาตรวจสอบจึงพบว่าเป็นน้ำซึม(เป็นน้ำอัศจรรย์ที่ไหลออกมาเอง)จึงตั้งชื่อว่าพระอุ่นเมือง พระคู่บ้านคู่เมืองปาย (น้ำซึมตลอดทั้งปี) ทุกวันที่ 25 ม.ค. ของทุกปีมีงานบวงสรวงและสืบชะตา (บวงสรวงพระสุพรรณกัลยา พระนเรศวรมหาราช และ 3 กษัตริย์)
นอกจากนี้แล้วแม่ฮ่องสอนยังมีที่เที่ยวให้เราเที่ยวกันแบบผ่อนคลายได้ตลอดทั้งปี แล้วเที่ยวติดดินจะพาเพื่อนไปเที่ยวกันใหม่นะครับบ ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย