ถ้าพูดถึงเมืองรองชายแดนของอีสานใต้แล้วนั้น ผมก็คิดถึงเมืองศรีสะเกตุและสุรินทร์ ที่มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับความน่าสนใจ ในหลากหลายเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ ผู้คน วัฒนธรรม อาหารการกิน แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่อย่างหลากหลายไม่แพ้เมืองหลักอย่างอุบลราชธานีกันเลยที่เดียว สำหรับทริปนี้เราก็ได้ฟังเรื่องราวความน่าสนใจของเมือง ศรีสะเกตุจาก นาย วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผูว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กับการท่องเที่ยวใหม่ 7 เส้นทาง เส้นทางแรกเส้นทางอารยธรรมขอม เส้นทางที่สองเส้นทางวิถีชนเผ่า ซึ่งศรีสะเกษมีทั้งหมดสี่ชนเผ่า ที่สำคัญๆ โดยเด็ดเด็ดเลยจะเป็นการสวัสดีปีใหม่แบบสี่ชนเผ่า ส่วย เขมร ลาว เยิญ เส้นทางที่สามคือเส้นทางสายไหม คือการทอผ้าไหม. ส่งเสริมกิจกรรมการทอผ้าใหม่ โดยส่งเสริมให้ลายดอกลำดวนเป็นลายประจำจังหวัดศรีสะเกษ เส้นทางที่สี่เส้นทางวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การเพิ่มรายได้ในที่นี้ก็คือการลดรายจ่าย และเป็นการเดินตามรอยเบื้องพยุคลบาท เส้นทางที่ห้าเส้นทางผลไม้ดินภูเขาไฟ อยู่ในส่วนของอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอศรีรัตนะ สามอำเภอนี้เป็นดินที่มาจากภูเขาไฟเป็นหลัก ทำให้ผลไม้มีรสชาติแตกต่างจากที่อื่น

เส้นทางที่หกเส้นทางตามรอยพระพุทธศาสนา วัดที่จังหวัดนี้มีสิ่งสวยงามและพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย เส้นทางสายนี้จะได้ทั้งบุญ และและยังได้เป็นสิ่งที่เป็นการท่องเที่ยวขนบธรรมเนียมประเพณีที่ติดตามกันมา เส้นทางที่เจ็ดเส้นทางสุดท้ายเส้นทางการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ซึ่งอนาคตอาจจะเปิดเส้นทางทางเขาพระวิหาร เน้นเรื่องเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชากรที่อยู่ในระแวกนั้น ทั้งหมดเจ็ดเส้นทางที่มีอยู่และอยากจะแบ่งรูทต่างๆ และมีอยู่เส้นทางหนึ่ง ที่เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ คือเส้นทางขึ้นเขามออีแดง จะปรากฏเนินอยู่หนึ่งเนิน นั่นขึ้นเนินนับดาว กล่าวได้ว่า “กลางคืนนับดาวเช้าดูหมอกที่ผามออีแดง” นี้เป็นส่วนหนึ่งของความน่าสนใจที่เราอยากที่จะนำเสนอแต่ด้วย ทริปนี้เราจะพาเพื่อนๆไปเที่ยวทั้งศรีสะเกตุและสุรินทร์

จังหวัดศรีสะเกษหรือเมืองขุขันธ์ในสมัยก่อน หนึ่งในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่าง “อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร” อัดแน่นด้วยวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยขอม แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัดดังสำหรับกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลจำนวนมาก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเสมอ

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของไทย ตั้งอยู่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และด้วยเนื้อกว้างใหญ่กว่า 81,250 ไร่ ทำให้อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 2 จังหวัด คืออำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ภายในอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารยังเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

อาทิผามออีแดง จุดชมวิวสวย ๆ ที่สามารถมองเห็นวิวธรรมชาติได้สุดสายตายาวไปจนถึงสามารถมองเห็นปราสาทเข้าพระวิหาร

ภาพสลักนูนต่ำบริเวณหน้าผาใต้มออีแดง ซึ่งเป็นภาพเทพ 3 องค์ ขนาดเท่าคนจริง อายุไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี

สถูปคู่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุ ทางทิศตะวันตกของผามออีแดง เป็นสถูปหินทราย 2 องค์ ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ มียอดมนคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างในเป็นโพรงใช้สำหรับบรรจุสิ่งของในสมัยโบราณ

วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อวัดล้านขวด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านดอน ตำบลโนนสูง อำเภอบุญหาญ ที่มาของชื่อวัดล้านขวดนี้มาจากอาคารต่าง ๆ ภายในวัดตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้า, ลานจอดรถ, โบสถ์, ศาลา, หอระฆัง, กุฏิ รวมไปถึงห้องน้ำภายในวัด ล้วนประดับตกแต่งไปด้วยขวดแก้วหลากหลายสีสันกว่า 1.5 ล้านใบ

โดยได้แนวความคิดในการออกแบบมาจาก “พระครูวิเวกธรรมาจารย์” หรือ “หลวงปู่ลอด” ที่ได้เดินธุดงค์มาปักกลดภายในพื้นที่ป่าช้าหนองใหญ่ (ที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ่อขยะที่เต็มไปด้วยขวดแก้วจำนวนมาก ท่านจึงเห็นว่าควรนำขวดที่สีสันเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์ด้วยการนำไปตกแต่งอาคารภายในวัด นอกจากจะเป็นการกำจัดขยะแล้วยังประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง

 

บ้านขุนอำไพพาณิชย์ เป็นบ้านที่พักอาศัยเก่าของขุนอำไพพาณิชย์ (ทองอินทร์ นาคสีหราช) คหบดีชาวศรีสะเกษ ก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2468 ได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ไว้โดยทายาทขุนอำไพพาณิชย์ร่วมกับกรมศิลปากร จึงได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในเขตเมือง ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2530 เนื่องจากมีความโดดเด่นทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ความเป็นมา ต่อมา ใน พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าเทศบาลเมืองศรีสะเกษ บนถนนอุบล (ฝั่งขาออกไปยังจังหวัดอุบลราชธานี) ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษไปทางตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร

ศููนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ศรีสะเกษอควาเรียม

ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ศรีสะเกษอควาเรียม ตั้งอยู่ภายในสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) ในท้องที่ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำแห่งแรกในภาคอีสานตอนใต้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดไปในตัว ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำแห่งนี้เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งตรงกับวันเด็กแห่งชาติ

ภายในอาคารศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำฯ มีการจัดโซนปลาให้ได้ชมทั้งปลาทะเล ปลาน้ำจืด และปลาสวยงาม ซึ่งที่นี่มีพันธุ์ปลามากกว่า 100 ชนิด จำนวนรวมกว่า 4,000 ตัวเลยทีเดียว ทั้งนี้พันธุ์ปลาต่างๆ ได้ถูกจัดแสดงในตู้หลายขนาด มีตั้งแต่ขนาดทั่วๆ ไป จนถึงขนาดใหญ่ราวจอภาพยนตร์ ที่สำคัญคือ แต่ละตู้จะมีป้ายข้อมูลเกี่ยวกับปลาชนิดนั้นๆ กำกับอยู่ ผู้มาเยือนจึงได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน

อุโมงค์แก้วใต้น้ำ ถือเป็นบริเวณที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากตลอดระยะทาง 24 เมตร ของอุโมงค์ นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมความสวยงามและความน่ารักของปลาน้อยใหญ่อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีโอกาสได้ชมการแสดงดำน้ำ ให้อาหารปลาจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีขึ้นในเวลา 14.00 น. ของทุกวัน

หลังจากที่ได้เพลิดเพลินกับการชมพันธุ์ปลา ศรีสะเกษอควาเรียม ยังมีบริการ “สปาปลา” ให้นักท่องเที่ยวได้ลองสัมผัส และมีมุมของที่ระลึกให้ได้เลือกซื้อหาเป็นของฝาก ก่อนเดินทางกลับ

การเดินทาง: จากตัวเมืองศรีสะเกษ ให้ใช้เส้นทางถนนเลี่ยงเมืองไปทางอำเภอขุขันธ์ ซึ่งศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำฯ จะอยู่ฝั่งขวามือของถนนเลี่ยงเมือง ในท้องที่ตำบลหนองครก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4561 2686, 0 4562 0211 – 4

วัดมหาพุทธาราม

วัดเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาก่อนเมืองศรีสะเกษ โดยเดิมเรียกว่า “วัดป่าแดง” ตั้งอยู่ใจกลางเมืองศรีสะเกษ โดดเด่นด้วยวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง คือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย มีความสูงจากฐานถึงยอดเกศ 6.85 เมตร หน้าตักกว้าง 3.50 เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปศิลาจำหลัก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยขอมและมีอายุร่วมกว่าพันปี ซึ่งภายหลังได้ถือเอาพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระโต” ตามลักษณะของพระพุทธรูป จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดมหาพุทธาราม” และได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย

วัดพระธาตุสุพรรณหงส์ หรือวัดบ้านหว้าน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง ตั้งอยู่ห่างจาก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร อีกหนึ่งวัดสวยที่ห้ามพลาดเมื่อเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยความโดดเด่นของพระอุโบสถที่ก่อสร้างบนเรือสุพรรณหงส์จำลอง ลอยอยู่กลางน้ำอย่างสวยงามแปลกตา ตัวพระอุโบสถกว้าง 5 เมตร ยาว 13.60 เมตร หลังคาทรงจัตุรมุข 3 ชั้น มียอดมณฑปกลางอุโบสถ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และด้วยความสวยงามโดดเด่นของวัดแห่งนี้จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม

พระธาตุเรืองรอง ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านสร้างเรือง หมู่บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7.5 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยหลวงปู่ธัมมา พิทักษา เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับให้ชาวพุทธในถิ่นอีสานใต้ได้มาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล มีลักษณะเป็นอาคารที่ผสมผสานศิลปะแบบอีสานใต้จาก 4 เผ่า ได้แก่ ลาว, ส่วย, เขมร และเยอ ตัวพระธาตุเรืองรองมีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น

หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า”ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ”เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง”จันทร์โสมา” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา ด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนักกับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ ๒๑ เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี ๒๕๔๖ จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ”หมู่บ้านทอผ้าเอเปก”และรางวัล OTOP ระดับ ๕ ดาว ของประเทศ ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง “จันทร์โสมา” เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่งสีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้นด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่งบนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป๒-๓ เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง ๔-๕ คน คือจะมีคนช่วยยกตะกอ ๒-๓ คน คนสอดไม้ ๑ คนและคนทออีก ๑ คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ ๖-๗ เซนติเมตรเท่านั้น

หมู่บ้านทำเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ชมงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณ เลือกซื้อเครื่องประดับเงิน สินค้าทำมือจากหมู่บ้านที่มีชื่อเสียง และโดดเด่นในด้านการผลิตประคำเงินที่มีเอกลักษณ์ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปะเกือม” นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับที่มีความสวยงาม จนเป็นงานหัตถศิลป์ขึ้นชื่อ และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

หมู่บ้านทำเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ หรือกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค ตั้งอยู่ที่กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมด 5 ตำบล โดยชื่อตำบลและกิ่งอำเภอ มาจากภาษาท้องถิ่น คำว่า เขวา เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งพบได้มากในพื้นที่ ส่วนคำว่า สิรินทร์ มาจากชื่อเจ้าเมืองเก่า เครื่องเงิน ของอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มี 2 รูปแบบ โดยจำแนกจากวิธีการทำ คือ ตะเกา และปะเกือม ตะเกา คือ การใช้เส้นเงินดัดเป็นรูปทรงและลวดลายแต่ละชิ้น แล้วนำมาเชื่อมด้วยน้ำประสานทอง ส่วนประเกือมคือการใช้แผ่นเงินบางๆ ตีเป็นรูปต่างๆ โดยอัดชันไว้ภายใน ทำให้แกะลวดลายได้สะดวก ช่างทำเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงซึ่งยังคงสืบสานการทำเครื่องเงินโบราณนี้ไว้คือ ลุงป่วน เจียวทอง ผู้ทำลวดลายได้สวยงามกว่า 13 ลาย คือ ตั้งโอ๋ ดอกทานตะวัน ลำหอกทึบ ลำหอกโปร่งไข่แมงดา ดอกมะลิ รังผึ้ง รังแตน ดอกบัว ดอกพริก ขจร ระเวียง และตั้งโอ๋สามชั้น นอกจากนั้น ลุงป่วนยังทำเครื่องเงินผสมหินสีเป็นสร้อย แหวน และต่างหูอีกด้วย โดยยึดรูปแบบโบราณและใช้วิธีการทำแบบดั้งเดิมมาตลอด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. สนใจสั่งซื้อติดต่อที่ กลุ่มเครื่องเงินผ้าไหมเขวาสินรินทร์ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ททท. สุรินทร์ โทร. 055-252742-3, 055-25 9907

CAFE’ DE’ NISSA BY NISSA ORGANIC FARM คาเฟ่สไตล์บ้านสวนและฟาร์ม ที่ใช้พื้นที่ของสวนมาเป็นคาเฟ่ ด้วยกันตกแต่งที่มีความชิลที่มีสระว่ายน้ำมุมเก๋ๆไว้รอให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปเช็กอินอีกด้วย สามารถมาจัดงานได้ นอกจากเครื่องดื่มแล้วก็ยังมีอาหารไว้คอยบริการมีที่จอดรถพื้นที่กว้างมาก

https://web.facebook.com/nissaorganicfarm/

ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงาน สุรินทร์ โทรศัพท์ 044-514447-8

https://web.facebook.com/tatsurin/?_rdc=1&_rdr